Status Codes เป็นอีกอย่างที่นักพัฒนาเว็บแอพพลิเคชันที่ต้องเข้าใจความหมายโดย status codes จะเป็นมาตรฐานที่กำหนดสถานะต่างๆ ในการรับส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต กำหนดโดย ietf เอกสาร section 10 of RFC 2616 และ RFC 7231 ไว้ดังนี้
- Informational responses (100–199)
- Successful responses (200–299)
- Redirection messages (300–399)
- Client error responses (400–499)
- Server error responses (500–599)
Status Codes ที่เห็นและใช้กันบ่อยๆ
200 OK
รับส่งข้อมูลสำเร็จ
204 No Content
Server ประมวลผลคำขอเสร็จแล้ว และยังไม่ส่งคืนเนื้อหาใด ๆ กลับมา
400 Bad Request
Status Codes เกิดจากการส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจากฝั่ง Client
401 Unauthorized
Status Codes เกิดจากการส่งข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้งาน
403 Forbidden
Status Codes เกิดจากการที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถีงเนื้อหาที่ต้องการ
404 Not Found
ไม่พบข้อมูลที่ต้องการ
405 Method Not Allowed
วิธีที่ใช้ไม่ได้รับการอนุญาต เช่น ใช้คำขอแบบ PUT กับทรัพยากรที่อ่านได้อย่างเดียว (Read-Only Resource)
500 Internal Server Error
เกิดข้อผิดพลาดจากทางฝั่ง Server หรืออาจจะเกิดจากทำงานของโปรแกรมที่ไม่สามารถทำงานได้ (bug)
502 Bad Gateway
เกิดข้อผิดพลาดจากทางฝั่ง Server โดยอาจจะเกิดจาก Server ล่ม หรือ Web Server ทำงานผิดพลาด
504 Gateway Timeout
เกิดข้อผิดพลาดในการเชื่อมต่อที่ใช้เวลานาน (Gateway Timeout) โดยส่วนใหญ่สาเหตุเกิดขึ้นจากการเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลที่ใช้เวลานานมากจนเกินไป